ลบ
แก้ไข
หลังจากที่ ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธานที่ประชุม ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) แถลงผลจากการประชุมสัมมนาวิชาการ และประชุมสมัยสามัญ ประจำปี 2558 โดยเสนอว่า "ที่ประชุมเสนอให้มีการยกเลิกการเปิด-ปิด ภาคเรียนตามประเทศในกลุ่มอาเซียน ภาคเรียนที่ 1 สิงหาคม-ธันวาคม ภาคเรียนที่ 2 มกราคม-พฤษภาคม และปิดภาคเรียนเดือนมิถุนายน-สิงหาคม"
แนะเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน ต้องทำทั้งระบบ-หากทำไม่ได้ก็ไร้ผล เผยมีบางมหาวิทยาลัยเปลี่ยนกลับไปแบบเดิมแล้ว

หลังจากที่ ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ประธานที่ประชุม ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) แถลงผลจากการประชุมสัมมนาวิชาการ และประชุมสมัยสามัญ ประจำปี 2558 โดยเสนอว่า "ที่ประชุมเสนอให้มีการยกเลิกการเปิด-ปิด ภาคเรียนตามประเทศในกลุ่มอาเซียน ภาคเรียนที่ 1 สิงหาคม-ธันวาคม ภาคเรียนที่ 2 มกราคม-พฤษภาคม และปิดภาคเรียนเดือนมิถุนายน-สิงหาคม"
ล่าสุด ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าอำนาจในการเปิด-ปิดภาคเรียนในสถาบันอุดมศึกษาเป็นของอธิการบดีของแต่ละมหาวิทยาลัยส่วนข้อเสนอที่ตนเสนอไปนั้น หวังเพียงจุดประเด็นให้มหาวิทยาลัยหันกลับมาทบทวนถึงผลดี-ผลเสียของการการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียน
"ประเด็นปัญหาสำคัญของการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียนคือการขาดความเป็นเอกภาพ เพราะสถาบันอุดมศึกษาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเปิด-ปิดภาคเรียน แต่ขณะเดียวกันโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสพฐ. ไม่ได้ปรับเปลี่ยนตาม จึงทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง ทั้งปัญหาการรับนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย หรือปัญหาการฝึกสอนตามหลักสูตรของนักศึกษาปี 5 สาขาการศึกษา" ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ กล่าว
ผศ.ดร.รัฐกรณ์ กล่าวต่อว่า หากสถาบันอุดมศึกษาต้องการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียนเพื่อจุดประสงค์ในการแข่งขันในอนาคต เช่น เพื่อรับนักศึกษาชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาในประเทศ ตนก็อยากให้วิเคราะห์ให้ดีเพราะผลจากงานวิจัยระบุว่า มีนักศึกษาชาวต่างชาติมาศึกษาในประเทศไทยในสัดส่วนประมาณร้อยละ 3-4 โดยส่วนใหญ่จะเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ซึ่งตนมองว่าอาจเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำและทำให้มหาวิทยาลัยจำนวนมากที่เหลือเสียโอกาสในการรับนักศึกษาในระยะยาวเป็นต้น
อย่างไรก็ดี ผศ.ดร.รัฐกรณ์ ระบุว่า อยากให้คำนึงถึงบริบทของสังคมไทยมากขึ้นทั้งเรื่องของสภาพภูมิอากาศและประเพณีของไทย เพราะตลอดระยะเวลา 1 ปี ได้เห็นถึงอุปสรรคจากสภาพภูมิอากาศอีกทั้งยังกระทบต่อปัญหาด้านประเพณีอย่างเช่น ประเพณีสงกรานต์ที่นักเรียน-นักศึกษาควรใช้เวลากับครอบครัวกลับต้องมานั่งเรียน เป็นต้น
ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ ยังเปิดเผยด้วยว่า หลังจากใช้รูปแบบการเปิด-ปิดภาคเรียนตามอาเซียนตลอดระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้มีบางมหาวิทยาลัยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเปิด-ปิดภาคเรียนกลับมาเป็นปกติแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ที่ปรับเปลี่ยนการเปิดภาคเรียนกลับมาเป็นปกติ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและประเพณีตามเดิมแล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : มติชนออนไลน์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : มติชนออนไลน์
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ความสามารถทางภาษาอังกฤษและทักษะการเป็นผู้นำในด้านการปรับตัวทางวัฒนธรรมเป็นจุดที่อ่อนแอของพนักงานไทยทำให้ต้องปรับปรุง เพื่อให้สามารถเข้าแข่งขันในตลาดแรงงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) การรวมตัวกันของ AEC...by dogTech
-
ประเทศไทยได้มีการหารือประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเพื่อสร้างความพยายามในการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรวมกลุ่มอาเซียนในแง่ของการศึกษาและการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในระดับภูมิภาค...by dogTech
-
สมาชิกทุกคนในโครงการเยาวชนเรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SSEAYP) จะเข้าร่วมกิจกรรมที่น่าสนใจระหว่างการเข้าพักในประเทศไทย โดยมีเยาวชนที่เข้าร่วม 330 คน จาก 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งพวกเขาจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น...by dogTech
-
การเรียนรู้ภาษาไทยทั้งในด้านพูดและเขียน สามารถนำไปสู่รายได้ที่สูงขึ้นและมีแนวโน้มสูงมากขึ้นในด้านการประกอบอาชีพของนักศึกษามหาวิทยาลัยกัมพูชา Kaom Sokharoth,นักศึกษาชั้นปีที่3จากมหาวิทยาลัยแห่งพนมเปญในคณะวรรณกรรมไทย...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต